เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
1.ภัณฑคามวรรค 2.ปปติตสูตร

ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยอริยศีล เรียกว่า ‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
2. บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยอริยสมาธิ เรียกว่า ‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
3. บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยอริยปัญญา เรียกว่า ‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
4. บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยอริยวิมุตติ เรียกว่า ‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล เราเรียกว่า
‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ เราเรียกว่า ‘ผู้ไม่ตกไป1
จากธรรมวินัยนี้’
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยศีล เรียกว่า ‘ผู้ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
2. บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยสมาธิ เรียกว่า ‘ผู้ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
3. บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยปัญญา เรียกว่า ‘ผู้ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
4. บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยวิมุตติ เรียกว่า ‘ผู้ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล เราเรียกว่า ‘ผู้
ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
ผู้เคลื่อนจากธรรมวินัย2นี้ย่อมตกไป
ผู้ตกไปและกำหนัดเพราะราคะต้องกลับมา3อีก
เมื่อทำกิจที่ควรทำ ยินดีสิ่งที่ควรยินดี
จะบรรลุสุขด้วยสุข4

ปปติตสูตรที่ 2 จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
1.ภัณฑคามวรรค 3. ปฐมขตสูตร

3. ปฐมขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกกำจัด สูตรที่ 1

[3] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็น
อสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย
มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ1สิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง กล่าวสรรเสริญผู้ควรติเตียน
2. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง กล่าวติเตียนผู้ควรสรรเสริญ
3. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง แสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
4. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม 4
ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน
และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม 4
ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูก
ผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียน
2. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ
3. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
4. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว แสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม 4
ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย
ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก